วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555


โครงงานบูรณาการ8กลุ่มสาระการเรียนรู้
เเละการสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัด นครราชสีมา
โครงงานน้ำพริกกากหมู
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 กลุ่มที่ 8/44
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555





กลุ่มผู้ศึกษา

                                                1. นาย ภานุพงศ์         ฉิมญานุวัฒน์          เลขที่  3
                                                2. นาย กิตติ                ดีด่านค้อ                เลขที่ 12
                                                3. นาย พงศ์ภัค           สระฏัน                    เลขที่ 16
                                                4. นางสาว เครือวัลย์   ดอกเเก้วกลาง       เลขที่  43
                                                5. นางสาว ฤทัยรัตน์    กิ่งสักกลาง            เลขที่ 44
                                                6. นางสาว วาสนา       มวลมุลตรี             เลขที่  45
                                                7. นางสาว วิสาขมาส  กิ่งข่อยกลาง         เลขที่  46
                                                8. นางสาว สุกัญญา     หุ้นกลาง                เลขที่ 47
                                                9. นางสาว สุชาดา      จันทวงศ์                เลขที่  48
                                               10. นางสาว วราลักษณ์   ผาดไธสง           เลขที่ 50
                                               11. นางสาว พลอยไพลิน  พวงทองหลาง  เลขที่ 51


บทที่ 1
บทนำ
1.    ความสำคัญและเหตุผลในการจัดทำโครงงาน
ในการจัดทำโครงงานบูรณาการเรื่องน้ำพริกกากหมู  เพื่อต้องการศึกษาขั้นตอน  วิธีการทำ  สรรพคุณ  และประโยชน์ของน้ำพริกกากหมู  เพื่อให้ได้น้ำพริกออกมามีคุณภาพดี  และน่ารับประทาน

2. วัตถุประสงค์
         2.1  เพื่อศึกษา  เรื่อง   น้ำพริกกากหมู      ในเขตอำเภอโนนสูง    จังหวัดนครราชสีมา
         2.2  เพื่อศึกษาความพึงพอใจใน  เรื่อง  น้ำพริกกากหมู   ในเขตอำเภอโนนสูง    จังหวัดนครราชสีมา

3. เป้าหมายของการศึกษา
         3.1 ศึกษาเกี่ยวกับ  เรื่อง    น้ำพริกกากหมู
มีรายละเอียดที่ศึกษาประกอบด้วย  ทำการศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในการทำน้ำพริกกากหมู  เพื่อให้ได้น้ำพริกออกมามีคุณภาพดี   น่ารับประทาน

         3.2  ระยะเวลาที่ทำการศึกษา
               ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2555
         3.3  สถานที่ดำเนินงาน
                3.3.1 ดำเนินงานศึกษาหาความรู้จาก
บ้านหนองม้า   เลขที่ 24/3  หมู่  4   ตำบลมะค่า    อำเภอโนนสูง   จังหวัดนครราชสีมา

(2)
                3.3.2  นำเสนอโครงงาน  ที่โรงเรียนโนนสูงศรีธานี  อำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา

4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
           4.1  ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ  เรื่อง    น้ำพริกกากหมู
           4.2  ผู้ศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำโครงงานบูรณาการ 
           4.3  ผู้ศึกษาสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการจัดทำโครงงานไปเป็นเป็นแนวทางการศึกษาในรายวิชาต่างๆ หรือประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

          การศึกษาเกี่ยวกับ  เรื่อง  น้ำพริกกากหมู     กลุ่มผู้ศึกษา      ด้ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโครงงานดงนี้  โดยมีข้อมูลที่ครูสอนในวิชาที่บูรณาการจำนวน   8 วิชา โดยสรุปดังนี้
      1.วิชาคณิตศาสตร์   เซต
         เซต (Sets)  ในวิชาคณิตศาสตร์  ใช้คำว่า เซต   ในการกล่าวถึงกลุ่มของสิ่งต่างๆและเมื่อกล่าวถึงกลุ่มใดแล้วสามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่ม  เช่น
เซตของชื่อวันในสัปดาห์
เรียก สิ่งที่อยู่ในเซต  ว่า  สมาชิก (elements)  เช่น
เซตของชื่อวันในสัปดาห์  มีสมาชิกได้แก่  จันทร์  อังคาร  พุธ  พฤหัสบดี  ศุกร์  เสาร์  และอาทิตย์
การเขียนแทนเซตอาจเขียนได้สองแบบดังนี้
(1)  แบบแจกแจงสมาชิก  เขียนสมาชิกทุกตัวของเซตลงในเครื่องหมายวงเล็บปีก “ { } ”และใช้เครื่องหมายจุลภาค(.)คั่นระหว่างสมาชิกแต่ละตัว เช่น
         เซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า  5  เขียนแทนด้วย  { 1,2,3,4 }
     โดยทั่วไปจะแทนเซตด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่  เช่น A,B,และแทนสมาชิกของเซตด้วยตัวพิมพ์เล็ก  เช่น  a,b,c
ตัวอย่างเช่น  A = { a,b,c }  จะแทนเซต ซึ่งมีสมาชิก  3  ตัว  ได้แก่  a,b  และ c

ส31101  
       2.วิชาสังคมศึกษา         การใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในกาสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
การรู้จักใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมมาเป็นเวลานาน  แต่ละท้องถิ่นในประเทศไทยมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง  ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทรัพยากร และภูมิปัญญา  ดังตัวอย่างการใช้ประโยชน์ดังต่อไปนี้
    1.แหล่งท่องเที่ยว  ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่น่าสนใจอยู่หลายแห้งบางแห่งได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว  เช่น  น้ำตก  ชายหาด  อุทยานแห่งชาติ  อ่างเก็บน้ำ  ถ้ำ  เป็นต้น
     2.เครื่องใช้ทั่วไป  คนไทยรู้จักนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาจัดทำเป็นเครื่องมือ  เครื่องใช้  เช่น นำไม้มาสร้างบ้าน เครื่องเรือน ของเล่น ของใช้  เป็นต้น
     3.อาหาร  อาหารที่ปรุงขึ้นจากพืชพรรณและสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ  ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีการปรุงอาหารและชื่ออาหารที่แตกต่างกันไป  ตัวอย่างอาหารไทยในภาคต่างๆ มีดังนี้
          3.1 อาหารไทยภาคเหนือ  เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง  น้ำพริกแกง  ไส้อั่ว  แกงฮังแล  แกงโฮะ  ผัก  เช่น ผำหรือไข่แหน  ผักแพะ    อาหารว่าง  เช่น  ขนมปากหม้อ  เป็นต้น
          3.2  อาหารไทยภาคกลาง  เช่น  น้ำพริกกะปิ  น้ำพริกลงเรือ  แกงส้ม พะแนง  มัสมั่น
ผัก เ เช่น มะเขือ แตงกวา   อาหารว่าง เช่น ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวมันส้มตำ  เป็นต้น
          3.3อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เช่น  ปลาร้า  แจ่ว  แกงหน่อไม้ แกงอ่อม
ปลาย่าง แย้  ผัก เช่น ผักกระโดน  ยอดมะตูม  อาหารว่าง เช่น ไส้กรอก ข้าวจี่  เป็นต้น
          3.4  อาหารไทยภาคใต้  เช่น น้ำพริกมะขาม  น้ำพริกปลาสลิด  แกงเหลือง น้ำบูตู ข้าวยำ    ผักเฉพาะถิ่น เช่น สะตอ ลูกเนียง  อาหารว่าง  เช่น ขนมลา ขนมพอง  เป็นต้น
    

      (5)
 4. ยารักษาโรค พืชตามท้องถิ่นต่างๆในประเทศไทย  โดยเฉพาะกลุ่มพืชสมุนไพรมีอยู่หลากหลาย  โดยคนไทยใช้รักษาโรคมาเป็นเวลาช้านาน บางอย่างมีการนำมาใช้โดยไม่ต้องปรุงแต่งใดๆ พืชแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณและวิธีใช้แตกต่างกัน
    

3.วิชาภาษาไทย        การเขียนเรียงความ
    การเขียนเรียงความ  หมายถึง  การนำคาแต่งเป็นเรื่อง  เพื่อใช้เป็นข้อเขียนที่แสดงความคิดเห็น  ความรู้  ความรู้สึก  ความคิดเห็น  และข้อเสนอแนะต่างๆของผู้เขียนถ่ายทอดสู่ผู้อ่าน  เรียงความประกอบด้วยส่วนต่างๆ  3  ส่วน  คือ  คำนำ  เนื้อเรื่อง  และสรุป
     1.คำนำ  คือ  เนื้อความส่วนที่เป็นคำนำ  เป็นการเปิดเรื่อง  อาจเป็นการอธิบายความหมายของชื่อเรื่อง  กล่าวถึงความสำคัญและขอบเขตของเรื่องที่จะเขียนหรือข้อความที่ก่อให้เกิดความสนใจ  ต้องการอ่านเนื้อเรื่องให้มากที่สุด
     2.เนื้อเรื่อง  จะเป็นส่วนที่ขยายความให้รายละเอียดตรงตามจุดประสงค์หรือประเด็นหลักของเรื่อง  ส่วนเนื้อเรื่องจะเป็นส่วนที่มีเนื้อหามากที่สุด   เนื้อเรื่องประกอบด้วยหลายย่อหน้า  แต่ละย่อหน้าขยายความของเรื่องตามแนวคิดที่ตั้งไว้   มีทั้งเนื้อหาของเรื่องที่ให้ความรู้  การแสดงความคิดเห็น  ความรู้สึกของผู้เขียน  พร้อมตัวอย่างประกอบข้อความให้เด่นชัดยิ่งขึ้น  มีการให้สำนวนโวหาร  และถ้อยคำที่ไพเราะ  แล้วเลือกสรรนำมาใช้ในการเขียน  ต้องเขียนตามโครงเรื่องที่ตั้งไว้ให้มีเนื้อหาต่อเนื่องสอดคล้องกัน
    3.สรุป  เป็นส่วนที่สรุปเนื้อหาสำคัญของเรื่องควรมีเพียงย่อหน้าเดียวเป็นการกล่าวย้ำประเด็นสำคัญ  ย้ำจุดประสงค์หรือความคิดหลักของเรื่อง  อาจมีการทิ้งท้ายฝากข้อคิด 
ข้อย้ำเตือน  หรือคติสอนใจ  ตลอดจนความประทับใจให้แก่ผู้อ่าน


 4.วิชาศิลปะ        การประดิษฐ์ท่ารำในการแสดงนาฏศิลป์
         การประดิษฐ์ท่ารำ  ในการแสดงนาฏศิลป์  มีหลากหลายประการซึ่งจะต้องนำมาพิจารณาประกอบ  ทั้งนี้เพื่อให้การประดิษฐ์ท่ารำมีความประณีต  สวยงาม  สื่อความหมายได้ชัดเจน  มีความสัมพันธ์สอดคล้องกันทั้งท่ารำ  ทำนอง  จังหวะของเพลง  และเครื่องแต่งกาย
๓.๑  การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นคู่
        การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นคู่  ผู้ประดิษฐ์จะต้องคำนึงถึงส่วนประกอบสำคัญ  คือ  จังหวะ  ทำนองเพลง  บทร้อง  และเครื่องแต่งกาย  การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นคู่  มีแนวดังนี้
      ๑)การประดิษฐ์ท่ารำแนวอนุรักษ์  ส่วนมากจะใช้ท่ารำที่เป็นแบบแผนมาตั้งแต่ดั้งเดิม
      ๒)การประดิษฐ์ท่ารำแนวความคิดสร้างสรรค์  จะเป็นการประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่  โดยแนวคิดมาจากการรับอิทธิพลของต่างประเทศทั้งตะวันออกและตะวันตก
๓.๒  การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นหมู่
        การประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นหมู่  มีผู้รำจำนวนตั้งแต่  ๒  คนขึ้นไป  เอกลักษณ์และความโดดเด่นอยู่ที่ความพร้อมเพรียงและความงดงามในการแปรแถว
ข้อคำนึงในการประดิษฐ์ท่ารำที่เป็นหมู่  อาจารย์เฉลย  ศุขะวณิช  ศิลปินแห่งชาติ  สาขาศิลปะการแสดง  ให้แนวคิดไว้ดังนี้  คือ
      (๑) การแปรแถว   การแสดงนาฏศิลป์ไทยสมัยโบราณไม่นิยมแปรแถวให้หลากหลายเหมือนปัจจุบันนิยม
       (๒)  ท่ารำต้องสัมพันธ์กับเพลง  การคิดประดิษฐ์ท่ารำจะต้องใช้วิธีฟังเพลงก่อน  แล้วจึงคิดท่ารำให้กลมกลืนไปกับบทร้องและท่วงทำนองของเพลงนั้น
      (๓)  ท่ารำเป็นหมู่คณะ  การประดิษฐ์ท่ารำที่มีลักษณะการรำเป็นหมู่คณะ  ใช้ผู้แสดงจำนวนมาก  จะต้องคำนึงถึงความพร้อมเพรียงเป็นหลัก
      (๔)  ท่ารำที่มีบทร้อง  การประดิษฐ์ท่ารำที่มีบทร้อง  ยึดความหมายของบทร้องเป็นหลักในการประดิษฐ์ท่ารำให้ถูกต้องตามความหมายของบทร้อง
(7)
       (๕)  ท่ารำที่มีแต่ทำนองเพลง  การประดิษฐ์ท่ารำที่ไม่มีบทร้องมีแต่ทำนองเพลง  ให้ยึดท่วงทำนองของเพลงที่บรรเลง
       (๖)  ท่ารำนาฏศิลป์พื้นเมือง  การคิดประดิษฐ์ท่ารำนาฏศิลป์พื้นเมือง  ต้องยึดหลักลีลาท่ารำเฉพาะถิ่นทั้ง  ๔  ภาค
      (๗)  ท่ารำต้องสอดคล้องกับรสนิยม   การประดิษฐ์ท่ารำ  ควรให้ตรงกับรสนิยมของสังคมในสมัยนั้นๆ


บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน

          การศึกษาเกี่ยวกับ  เรื่อง   น้ำพริกกากหมู     กลุ่มผู้ศึกษา    ได้กำหนดขั้นตอนในการศึกษาดังนี้
1.ขั้นเตรียมการ
1.1  จัดทำข้อสอบก่อนเรียน  20  ข้อ
1.2  ศึกษาและเรียนรู้ในรายวิชาที่ครูผู้สอนได้ร่วมจัดทำหน่วยบูรณาการทั้ง 8  กลุ่มสาระ  
1.3   รวมกลุ่มกันจัดทำโครงงานบูรณาการ  ในหน่วยการเรียนรู้           
โดยมีจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกลุ่ม 11  คน       ประกอบด้วย

   (1)     นาย         ภานุพงศ์          ฉิมญานุวัฒน์            ชั้น  ม.4/2        เลขที่   3
   (2)     นาย         กิตติ                 ดีด่านค้อ                   ชั้น  ม.4/2        เลขที่   12
   (3)     นาย         พงษ์ภัค            สระฎัน                     ชั้น  ม.4/2        เลขที่   16
   (4)     นางสาว  เครือวัลย์          ดอกแก้วกลาง           ชั้น  ม.4/2        เลขที่    43
   (5)     นางสาว  ฤทัยรัตน์          กิ่งสักกลาง                ชั้น  ม.4/2        เลขที่    44
   (6)     นางสาว  วาสนา              มวลมุลตรี                 ชั้น  ม.4/2        เลขที่    45
   (7)     นางสาว  วิสาขมาส         กิ่งข่อยกลาง              ชั้น  ม.4/2        เลขที่    46
   (8)     นางสาว   สุกัญญา           หุ้นกลาง                   ชั้น  ม.4/2        เลขที่    47
   (9)     นางสาว   สุชาดา             จันทวงศ์                   ชั้น  ม.4/2        เลขที่    48
   (10)   นางสาว   วราลักษณ์       ผาดไธสง                  ชั้น  ม.4/2        เลขที่    50
   (11)   นางสาว   พลอยไพลิน    พวงทองหลาง           ชั้น  ม.4/2        เลขที่   51
1.4  ตั้งชื่อโครงงานเรื่อง       น้ำพริกกากหมู

(10)
2.  ขั้นตอนการดำเนินการ
     2.1   สำรวจ  แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นอำเภอโนนสูง  จังหวัดนครราชสีมา  เกี่ยวกับเรื่อง     น้ำพริกกากาหมู
     2.2   ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ   เรื่อง     น้ำพริกกากหมู
     2.3   ฝึกปฏิบัติ/บันทึกข้อมูล/ถ่ายภาพเกี่ยวกับ  เรื่อง    น้ำพริกกากหมู
     2.4   ประเมินความพึงพอใจ
     2.5   นำข้อมูลมาเขียนรายงาน  5   บท

3.ขั้นตอนการประเมินผล
    3.1  นักเรียนร่วมกันประเมินผลด้านกระบวนการทำงาน(Process)  5  คะแนน
    3.2  ผู้ปกครองร่วมกันประเมิน ด้านคุณธรรมจริยธรรม(Attitude)   5  คะแนน
    3.3  ครูประเมินผลด้านความรู้(Knowledge)   10  คะแนน
                      ในวันประเมินผลด้านความรู้  นักเรียนได้นำมาเสนอด้วยวาจาและในรูปของรายงาน 5  บท,แผงโครงงาน  แผ่นพับ และ  ผลิตภัณฑ์


(11)
บทที่ 4
ผลการศึกษาและบูรณาการกับ 8  กลุ่มสาระการเรียนรู้
          
การศึกษาเกี่ยวกับ  เรื่อง  น้ำพริกกากหมู  กลุ่มผู้ศึกษา   สรุปผลการศึกษาดังนี้

1.  ขั้นตอนจัดทำ   น้ำพริกกากหมู   มีขั้นตอนดังนี้
1.นำหัวหอม  กระเทียมมาหั่นและนำไปเจียวให้หอม                                                                    2.นำปลาทูไปทอดและนำมาแกะเอาแต่เนื้อ  นำมาโขลก                                                                  3.นำแคปหมูมาโขลกแต่ไม่ให้ละเอียดมาก        
4.นำส่วนผสมทั้ง  อย่างมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน                                                                                    5.ปรุงรสด้วยพริกป่น ผงชูรส  รสดี  น้ำตาลทราย  และปรุงรสให้ได้ตามที่ต้องการ                                    6.นำส่วนผสมทุกอย่างไปผัดด้วยน้ำมันเล็กน้อย                                           
 7.นำน้ำมะขามเปียกใส่ลงไป                                      
   8.นำมาจัดใส่จานแล้วตกแต่ง









(12)
2.ผลการประเมินความพึงพอใจการจัดทำโครงงาน และเป็นการประเมินด้านกระบวนการ(P=Process)
คำชี้แจง กลุ่มนักเรียนร่วมกันประเมิน ใส่เครื่องหมาย / ในช่องที่เห็นว่าตรงกับความคิดเห็นของกลุ่มนักเรียน            ระดับ   5     ความพึงพอใจมากที่สุด
         ระดับ   4      ความพึงพอใจมาก
                                                           ระดับ   3      ความพึงพอใจปานกลาง
                                                           ระดับ   2      ความพึงพอใจน้อย
                                                           ระดับ   1      ความพึงพอใจ

  ที่

รายการประเมินความพึงพอใจ
               ระดับความพึงพอใจ
     5
     4
     3
     2
    1
  1
การรวมกลุ่มของนักเรียน


  


  2
การร่วมสืบค้นข้อมูล





  3
กระบวนการคิดสร้างสรรค์งาน





  4
การแบ่งหน้าที่การทำงานในกลุ่ม





  5
การจัดทำเอกสาร





                       รวม(กี่ข้อ)





         ใส่เลขที่ถูกเลือกซ้ำมากที่สุด

      ความพึงพอใจของเลขที่ถูกเลือกคือ







(13)
3.  ผลการประเมินของผู้ปกครอง
     ผลการประเมินด้านคุณธรรมจริยธรรม  หรือเจตคติ  โดยพิจารณาจากการตั้งใจในการทำงาน  การมีวินัย  ความรับผิดชอบในการทำงานของนักเรียน
มีผลการประเมินของผู้ปกครอง  ดังนี้

  ที่

รายการประเมินความพึงพอใจ
               ระดับความพึงพอใจ
     5
     4
     3
     2
    1
  1
การรวมกลุ่มของนักเรียน


  


  2
การร่วมสืบค้นข้อมูล





  3
กระบวนการคิดสร้างสรรค์งาน





  4
การแบ่งหน้าที่การทำงานในกลุ่ม





  5
การจัดทำเอกสาร





                       รวม(กี่ข้อ)





         ใส่เลขที่ถูกเลือกซ้ำมากที่สุด

      ความพึงพอใจของเลขที่ถูกเลือกคือ


 4.  ผลการบูรณาการจากกลุ่มสาระการเรียนรู้
     ที่เกี่ยวข้องกับโครงงานของนักเรียนคือ  เรื่อง    น้ำพริกกากหมู
         4.1      วิชาคณิตศาสตร์     เซตของเครื่องปรุงน้ำพริกกากหมู
พริกขี้หนู,หอมแดง,กระเทียม,น้ำตาลทราย,น้ำปลา,น้ำมะนาว,กากหมู ,ปลาทู  }



บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา  ข้อเสนอแนะ

         การศึกษาเกี่ยวกับ  เรื่อง   น้ำพริกกากหมู     กลุ่มผู้ศึกษา       สรุปผลการศึกษาดังนี้

1.  วัตถุประสงค์
1.1   เพื่อศึกษา   เรื่อง  น้ำพริกกากหมู    ในเขตอำเภอโนนสูง    จังหวัดนครราชสีมา
     1.2   เพื่อศึกษาความพึงพอใจใน   เรื่อง  น้ำพริกกากหมู     ในเขตอำเภอโนนสูง   จังหวัดนครราชสีมา

2.    ขั้นตอนจัดทำ    น้ำพริกกากหมู    สรุปผลขั้นตอนการทำ  ดังนี้                                      1.นำหัวหอม  กระเทียมมาหั่นและนำไปเจียวให้หอม                                                                    2.นำปลาทูไปทอดและนำมาแกะเอาแต่เนื้อ  นำมาโขลก                                                                  3.นำแคปหมูมาโขลกแต่ไม่ให้ละเอียดมาก                                                                             4.นำส่วนผสมทั้ง  อย่างมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน                                                                                    5.ปรุงรสด้วยพริกป่น ผงชูรส  รสดี  น้ำตาลทราย  และปรุงรสให้ได้ตามที่ต้องการ                                    6.นำส่วนผสมทุกอย่างไปผัดด้วยน้ำมันเล็กน้อย                                                                                   7.นำน้ำมะขามเปียกใส่ลงไป                                                                                                      8.นำมาจัดใส่จานแล้วตกแต่ง

            



(20)
3.   ผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดทำโครงงาน  และเป็นการประเมินด้านกระบวนการ(P=Process)
                          ค่าเฉลี่ยของคะแนน             เท่ากับ........             ( เต็ม  5  คะแนน )
                          ความหมายของค่าเฉลี่ย       เท่ากับ  มีความพึงพอใจ
4.   ผลการประเมินของผู้ปกครอง  ประเมินด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือเจตคติ(A=Attitude)
                          ค่าเฉลี่ยของคะแนน             เท่ากับ........              ( เต็ม  5  คะแนน )
                          ความหมายของค่าเฉลี่ย       เท่ากับ  มีความพึงพอใจ

5.   ประเมินผลด้านความรู้
                          ค่าเฉลี่ยของคะแนน             เท่ากับ.....                ( เต็ม  5  คะแนน )
                          ความหมายของค่าเฉลี่ย       เท่ากับ  มีความพึงพอใจ.........

6.    ข้อค้นพบใหม่ที่นักเรียนได้รับจากการศึกษาโครงงานนี้    คือ




7.   ข้อเสนอแนะ   เพื่อปรับปรุงสำหรับการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป







ความเป็นมาของน้ำพริกกากหมู


              น้ำพริกมีมาตั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา  โดยคำว่า น้ำพริกมีความหมายจากการปรุงด้วยการนำสมุนไพร  พริก  กระเทียม หัวหอม เครื่องเทศกลิ่นแรงมาโขลกบดรวมกัน เพื่อใช้สำหรับจิ้ม  น้ำพริกถูกใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆและยังได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   

ประโยชน์ของน้ำพริก

              สมุนไพรที่อยู่ในน้ำพริกนั้น  ประกอบด้วย พริก  กระเทียม  หอมแดง  โดยพริกมีรสเผ็ดร้อน ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้   ทำให้เจริญอาหาร  ขับลม  แก้หวัด  แก้ภูมิแพ้   ส่วนกระเทียม  ช่วยไม่ไห้เลือดจับตัวเป็นลิ่ม  ลดการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด   และหอมแดง  ช่วยทำความสะอาดเส้นเลือด  ป้องกันไม่ไห้หลอดเลือดอุดตัน  เป็นต้น

ส่วนผสม

    1. กากหมู     1     ถ้วย
    2. พริกขี้หนูแห้ง    6 – 8   เม็ด
    3. กระเทียม      2    หัว

    4. น้ำปลา     3 – 4  ช้อนโต๊ะ
    5. น้ำตาลทราย     1    ช้อนชา
    6. น้ำมะขามเปียก   1 – 2     ช้อนโต๊ะ 

    7. หอมแดง     6    หัว
    8. ปลาทู      ½      ตัว(ครึ่งตัว)
ต่อไปเป็นวิธีทำครับ

วิธีทำ


ขั้นตอนที่ 1 แกะเปลือกหัวหอม  กระเทียม


ขั้นตอนที่ 2 นำหัวหอม  กระเทียมมาหั่น


ขั้นตอนที่ 3  หัวหอม  กระเทียมที่หั่นนำไปเจียว

ขั้นตอนที่ 4 นำปลาทูไปทอด                                    


ขั้นตอนที่ 5 นำปลาทูมาแกะเอาแต่เนื้อ นำมาโขลก                     


ขั้นตอนที่ 6  นำแคปหมูมาโขลกแต่ไม่ให้ละเอียดมาก


ขั้นตอนที่ 7 นำส่วนผสมทั้ง  อย่างมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน

ขั้นตอนที่ 8 ปรุงรสด้วยพริกป่น ผงชูรส  รสดี  น้ำตาลทราย  และปรุงรสให้ได้ตามที่ต้องการ

ขั้นตอนที่ 9 นำส่วนผสมทุกอย่างไปผัดด้วยน้ำมันเล็กน้อย


ขั้นตอนที่ 10 นำน้ำมะขามเปียกใส่ลงไป


ขั้นตอนที่ 11 นำมาจัดใส่จานแล้วตกแต่ง

ขณะผู้จัดทำ


ถ้าขาดตกบกพร่องอะไรก็ขอประทานอภัยไว้นะที่นี้ครับ